โครงการนักเรียนทุนในพระราชานุเคราะห์

ความเป็นมา
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชหฤทัยมุ่งมันทีจะช่วยเหลือราษฎรโดยเฉพาะเด็ก และเยาวชนทีขาดโอกาสในการศึกษาหรืออยู่ในถิ่นทุรกันดารให้มีชีวิตความเป็นอยู่ทีดีขึน ทั้งด้าน โภชนาการ สุขภาพอนามัย การศึกษา อาชีพ ความเป็นอยู่และสภาพแวดล้อม จึงทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ ให้มีการคัดเลือกนักเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที 6 ทีมีฐานะยากจนแต่มีผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ ดีพอทีจะสามารถศึกษาต่อในระดับสูงขึนได้ตามระดับสติปัญญาและความสามารถให้เป็น “นักเรียนใน พระราชานุเคราะห์” เพื่อให้ความรู้ทักษะและประสบการณ์สําหรับใช้ในการประกอบอาชีพเพิ่มขึน มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท จึงได้น้อมนําแนวพระราชดําริมาดําเนินโครงการสนับสนุนทุนการศึกษานักเรียนในพระราชานุเคราะห์ ขึน เริ่มดำเนินโครงการฯ 2546 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 18 ปี

วัตถุประสงค์
สร้างโอกาสทางการศึกษาแก่นักเรียนศิษย์เก่าโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาทัดเทียมเยาวชนในเมืองแล้วกลับไปพัฒนาชุมชนให้มีโอกาส เฉกเช่นเดียวกัน

เป้าหมาย
สร้างคนดี พลเมืองดี อาชีพดี
หน่วยงานร่วมเจตนารมณ์
1. โครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
2. มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท
3. กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
4. โรงเรียนวังไกลกังวล ในพระบรมราชูปถัมภ์
5. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
6. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 52 จังหวัดเลย
7. สถาบันการศึกษาที่นักเรียนทุนเข้าศึกษาต่อ ฯลฯ

ผลการดำเนินงาน
นักเรียนชายที่จบ ป.6 จาก รร.ตชด.ภาค 1 เข้าเรียนต่อ ม.1 โรงเรียนวังไกลกังวล ในพระบรมราชูปถัมภ์ พักค้างประจำ ณ ศูนย์ฝึกอาชีพเยาวชนเกษตร อ.ชะอำ จ.เพชรบุรีโดยนักเรียนทุกคน ต้องได้รับการฝึกทักษะ 4 ด้าน คือ ด้านการเรียน ด้านทักษะชีวิต ด้านทักษะอาชีพ และด้านทักษะความเป็นผู้นำและคุณธรรม และเมื่อจบม.3 นักเรียนสามารถเลือกเรียนต่อในสายสามัญหรือสายอาชีพได้ตามความถนัดและความสนใจ และ ปี 2556 มีขยายโอกาสไปภาคอีสานโดยรับนักเรียนทั้งชายและหญิง เรียนระดับม.ต้นที่ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์เลย

ปัจจุบัน 18 ปี มีนักเรียนเข้าร่วมโครงการ ทั้งสิ้น 187 คน แบ่งเป็น 2 พื้นที่ดังนี้
1. พื้นที่ ตชด.ภาค 1 ( ภาคกลาง ) 174 คน
2. พื้นที่ ตชด.ภาค 2 ( ภาคอีสาน ) 13 คน

ผู้ที่สำเร็จการศึกษา 87 คนและผู้ที่กลับภูมิลำเนา 18 คน ประกอบอาชีพ ดังนี้
1. รับราชการ 9 คน
2. เป็นลูกจ้างบริษัท 44 คน
3. รับจ้างภาคเกษตร 10 คน
4. ช่วยครอบครัวทำเกษตร 6 คน
5. เถ้าแก่/อาชีพอิสระ/รับเหมา 9 คน
6. ทหารเกณฑ์ 3 คน
7. ขาดการติดต่อ 9 คน
8. ศึกษาต่อ 13 คน
9. เสียชีวิต 2 คน