อีกหนึ่งงานด้านพัฒนาเด็กและเยาวชนของมูลนิธิฯ คือโครงการครอบครัวอุปการะ (เด็กกำพร้า) ในชุมชนวัฒนธรรม ที่ทางมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบทดำเนินงานอยู่ในพื้นที่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของทีมงานแล้ว มูลนิธิฯยังทำงานด้านเครือข่ายทางวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์และเป็นกลไกเชื่อมโยงการทำงาน กับหน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชนอื่นๆเพื่อแลกเปลี่ยน เรียนรู้ประสบการณ์ แนวทางการดูแลพัฒนาครอบครัวอุปการะทั้งในและต่างประเทศภายใต้คณะกรรมการเครือข่ายครอบครัวอุปการะ หรือ ALTERNATIVE CARE THAILAND ACT ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของคนทำงานด้านการดูแลเด็กกำพร้า และเด็กไร้ที่พึ่ง กว่า 10 องค์กรได้แก่
1.สหทัยมูลนิธิ 2.Stept Ahead Foundation 3.One Sky Foundation 4.Save the Childred 5.Care for Children 6.Child Line Foundation 7.มหาวิทยาลัยมหิดล 8.SOS Children‘s Village 9.The Freedom Story Foundation และ 10.มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท
โดยมีการแลกเปลี่ยน ประชุมเป็นประจำทุกเดือนผ่านระบบสื่อสารทางไกลผ่านอีเลคทคอนิคส์ และได้พบปะกันเป็นประจำทุกไตรมาส
และเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมาคณะกรรมการเครือข่ายครอบครัวอุปการะ หรือ ALTERNATIVE CARE THAILAND ACT ได้พบปะกันพร้อมทั้งแลกเปลี่ยนการทำงาน ซึ่งในครั้งนี้มีสาระสำคัญ ของการเสนอแนวคิดในการดูแลเด็กให้มีครอบครัวทดแทน
จากการพูดคุยครั้งนี้พบว่ามีตัวเลขเด็กกว่า 140 ล้านคนทั่วโลก ที่ขาดพ่อหรือขาดแม่คนใดคนหนึ่ง และมีถึง 15 ล้านคนที่ ขาดทั้งพ่อและแม่ ขณะที่ตัวเลขของประเทศไทยเรา แม้ไม่ชัดเจนนักนแต่มีเด็กอยู่ในสถานสงเคราะห์ ของภาครัฐ กว่า 7,000 คน และ ดูแลโดยมูลนิธิการกุศลอื่นๆ กว่า 200 องค์กร หรืออยู่กับญาติ หรืออยู่อย่างไม่มีการจดแจ้งลงทะเบียนใดๆ
จุดที่น่าสนใจคือ เด็กเหล่านี้เติบโตมาท่ามกลางบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลให้ เด็กขาดความรัก ขาดความอบอุ่น ขาดความมั่นคงทางจิตใจ ขาดประสบการณ์ของชีวิตครอบครัวขาดความเป็นเจ้าของ และไม่รู้ว่าเป้าหมายชีวิตคืออะไร อนาคตจะเป็นอย่างไร จึงไม่มีคำตอบใดๆ ตรงกันข้ามกับเด็กที่อยู่กับครอบครัวโดยสิ้นเชิง
ทั้งนี้ที่ประชุมเห็นพ้องกันว่าการแก้ปัญหาดังกล่าวจึงต้องมีคำตอบให้กับเด็กๆเหล่านี้ โดยผ่าน “ครอบครัวทดแทน” หรือ ครอบครัวอุปการะ หรือที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Alternative Care” หรือเรียกว่าครอบครัวทางเลือกซึ่งทางมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท ได้ใช้แนวทางนี้ในการ ปัญหาให้เด็กกำพร้า โดยดำเนินโครงการนี้มานับแต่ปี 2545 มีเด็ก เข้าร่วมโครงการตั้งแต่อายุ 3-6 ขวบ และดูแลกันต่อเนื่องเป็นระยะยาว แต่ละคนร่วม 20 ปี โดยมูลนิธิฯจัดหาครอบครัวอุปการะเพื่อดูแลเด็ก ให้มีความรัก ความอบอุ่น และมีความมั่นคงในจิตใจ มากกว่า 341 คน โดยโครงการฯ ได้สิ้นสุดการดูแล เนื่องจากกลับไปอยู่กับครอบครัวเดิม หรือไปเป็นบุตรบุญธรรม ทำให้เหลือเด็กปัจจุบันอยู่ในความดูแลของมูลนิธิฯ 69 คน
การแลกเปลี่ยนครั้งนี้มีการมองกว้างถึง ระดับ นโยบาย กฏหมาย หน่วยงานกำกับดูแล กลไกในการขับเคลื่อน ตลอดจน ชุดองค์ความรู้ ชุดประสบการณ์ ต่างๆ อาทิ Care for Children มีการพัฒนาชุดความรู้ที่ดำเนินการมากว่า 90 ปี ตั้งแต่หลังสงครามโลก ที่เรียกว่า “Secure Based Approach”
ในขณะที่ Stept Ahead เสนอแนวคิด ที่เรียกว่า “Trust Based Relation intervention” เป็นต้น
ซึ่งมูลนิธิได้นำแนวคิดเหล่า นี้มาปรับใช้ ร่วมกับ ประสบการณ์จากสหทัยมูลนิธิ อย่างได้ผลดี และจะขยายขอบเขตการทำงานให้กว้างขวางขึ้น อย่างสร้างสรรค์และ ร่วมมือกันเป็นเครือข่ายร่วมกัน เพื่อนำความรู้ ประสบการณ์ไปใช้พัฒนาครอบครัวอุปการะให้ได้ผลดีต่อเด็กกำพร้าในครอบครัวอุปการะมีพลังบวกที่จะอยู่ในสังคมต่อไป
โดย สุปรี เบ้าสิงสวย มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท