ความเป็นเมืองสังคมสูงอายุ สู่อาชีพนักบริบาล
ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่ “สังคมสูงอายุ (Aged Society)” กล่าวคือมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปถึงร้อยละ 15 ใน พ.ศ. 2558 และกลายเป็น “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Complete Aged Society)” สูงถึงร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ ในพ.ศ. 2564 (United Nations, 2015) จึงทำให้ประเทศไทย ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว โดยมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนและอายุขัย อีกทั้งประสบปัญหาโรคเรื้อรังและภาวะทุพพลภาพก่อให้เกิดภาวะพึ่งพิงในสังคมไทยมากขึ้น (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2556)
สิ่งที่ผู้สูงอายุต้องการมากที่สุดในช่วงบั้นปลายชีวิตคือ ความสุขที่เกิดจากการมีคุณภาพชีวิตที่ดี 3 องค์ประกอบด้วยกัน ได้แก่ 1) การมีสุขภาพที่ดี ทั้งร่างกาย จิตใจและสังคม 2) ชุมชน และครอบครัว มีบทบาทสำคัญในการจัดการ ดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการดูแลผู้สูงอายุ 3) การเปลี่ยนแปลงตามวัยของผู้สูงอายุ มีความจำเป็นต้องได้รับการดูแล เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุช่วยเหลือและพึ่งพาตนเองให้ได้มากที่สุด
โดยที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุข เร่งขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เพื่อรองรับสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี 2567 โดยพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการปฏิบัติงานและจัดทำหลักสูตรการอบรมผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ (Care Manager) รวมถึงหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Caregiver) 70 ชั่วโมง 420 ชั่วโมง และ 840 ชั่วโมง เพื่อเตรียมการรองรับสังคมผู้สูงอายุ โดยมีนโยบายเร่งดำเนินงานผลิตนักบริบาลผู้สูงอายุอย่างมีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดี แต่กลุ่มผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นและกลายเป็นบุคคลที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นในชีวิตประจำวัน แต่นักบริบาลที่มีความรู้ ความเข้าใจ ด้านอนามัยพื้นฐาน ร่างกาย จิตใจ ยังไม่เพียงพอ รวมทั้งนักบริบาลส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนรับรองเป็นผู้ให้บริการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส) กระทรวงสาธารณสุข
มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท เตรียมพร้อมรับมือสังคมสูงวัยอย่างเป็นรูปธรรม จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาอาชีพด้านการบริบาล โดยร่วมกับหน่วยงานภาคี ฝึกวิชาชีพ ให้ความรู้ด้านการดูแลผู้สูงอายุ ในหลักสูตร 70 ชั่วโมง 420 ชั่วโมง และหลักสูตรการดูแลเด็กเล็กและผู้สูงอายุ 840 ชั่วโมง เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชน และประชาชนที่มีใจรักในงานบริบาล เข้ารับการฝึกวิชาชีพ ให้มีความรู้และทักษะในด้านการบริบาลอย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นอีกหนึ่งอาชีพทางเลือก ที่สามารถประกอบอาชีพในสถานประกอบการ หรือเป็นนักบริบาลอิสระได้ อีกทั้งยังสามารถเข้ารับการอบรมหลักสูตรที่สูงขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพได้ในอนาคต
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ และทักษะ ด้านการบริบาลที่ถูกต้องและเหมาะสม
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีมาตรฐานด้านอาชีพบริบาล เป็นที่ยอมรับ
3. เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ในสถานประกอบการ/โรงพยาบาล และชุมชน
4. เพื่อเป็นการสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับผู้ที่สนใจ ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ หรือไม่สามารถศึกษาต่อใน
ระบบ ให้มีทางเลือกในการฝึกวิชาชีพเพื่อมีอาชีพไว้รองรับในอนาคต
5. เพื่อผลิตบุคลากรด้านการบริบาลที่สามารถให้ความรู้และบริการด้านสุขภาพกับชุมชน
เป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการ
1. เยาวชนที่ขาดโอกาสทางการศึกษา ขาดแคลนทุนทรัพย์
2. ประชาชนทั่วไป ที่มีใจรักในงานด้านการบริบาล
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
>> กลุ่มที่ 1 ผู้สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือมัธยมศึกษาปีที่ 6
>> กลุ่มที่ 2 ผู้สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือมัธยมศึกษาปีที่ 6 และเป็นผู้ปฏิบัติงานในสถานดูแลผู้สูงอายุในสถานประกอบการ มาไม่น้อยกว่า 6 เดือน และได้รับการรับรองความประพฤติจากสถานประกอบการว่าเป็นผู้มีความประพฤติดี ปฏิบัติงานด้วยความเรียบร้อย
1) อายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป – 45 ปี สัญชาติไทย ไม่จำกัดเพศ
2) ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
3) มีสุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคร้ายแรงหรือโรคติดต่อร้ายแรง ไม่เป็นผู้ซึ่งมีปัญหาด้านสุขภาพที่เป็นอุปสรรค
ต่อการศึกษา
4) มีความประสงค์ที่จะประกอบอาชีพในสายงานด้านการบริบาล
5) มีวุฒิภาวะและบุคลิกลักษณะเหมาะสมในการเป็นนักบริบาล
6) มีความพร้อมในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม หรือกิจกรรมอาสาเพื่อสาธารณะประโยชน์ร่วมกับทางโรงเรียน
7) มีฐานะยากจน ขาดโอกาสทางการศึกษา เข้าไม่ถึงโอกาสในการมีอาชีพที่มั่นคง
การดำเนินโครงการ
: มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท สนับสนุน ทุนการอบรมด้านการบริบาล ใน 3 หลักสูตร
1. หลักสูตร ระยะสั้น (การดูแลผู้สูงอายุเบื้องต้น) 70 ชั่วโมง
2. หลักสูตร ระยะกลาง (การดูแลผู้สูงอายุ) 420 ชั่วโมง
3. หลักสูตร ระยะยาว (การดูแลเด็กเล็กและผู้สูงอายุ) 840 ชั่วโมง
: โดย โรงเรียน/หน่วยงาน ด้านการบริบาล ที่เป็นภาคีเครือข่ายกับมูลนิธิฯ เป็นผู้ให้ความรู้ทั้ง
ภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ
: ผู้ที่ผ่านการอบรม ได้รับใบรองจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข
ผลลัพธ์
1. ผู้ผ่านการอบรมเป็นนักบริบาลที่มีประสิทธิภาพ
2. ผู้ผ่านการอบรมได้รับการขึ้นทะเบียนรับรองมาตรฐานด้านอาชีพบริบาล
3. ผู้ผ่านการอบรมเป็นบุคลากรในระบบสาธารณสุข รองรับการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ในสถาน
ประกอบการ/โรงพยาบาล และชุมชน
4. ผู้ผ่านการอบรม มีโอกาสในอาชีพ มีรายได้มั่นคง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดภาระเศรษฐกิจของครอบครัวและ
สังคม
5. ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแล และสร้างเสริมสุขภาพที่เหมาะสม ทั้งด้านอนามัยพื้นฐาน ร่างกายและ
จิตใจ
6. ผลิตบุคลากรที่มีองค์ความรู้ด้านการบริบาล สามารถถ่ายทอดความรู้และดูแลสุขภาพเบื้องต้น ให้กับครอบครัว
และชุมชนของตนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
ผู้รับผิดชอบโครงการ – มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท
+++++++++++++
+++++++++++++