เรื่องเล่าชาวมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท “แรงบันดาลใจ”

จากการที่ได้รับผิดชอบ “โครงการซีพีคืนสุขผู้สูงวัยในชนบทที่ห่างไกล” ของ มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท โดยได้รับความร่วมมือจากองค์การบริหารส่วนตำบลหัวง้ม โรงเรียนผู้สูงอายุหัวง้ม และโรงเรียนป่าแดงวิทยา และสายธุรกิจสุกรในพื้นที่โดยเฉพาะคุณประดิษฐ์ แจ่มบาล ผู้จัดการโรงชำแหละสุกร ที่เป็นตัวแทนของมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท ร่วมมอบเงินสงเคราะห์ให้แก่ผู้งอายุเป็นประจำทุกเดือน

ในส่วนพื้นที่ผู้ที่ไปร่วมมอบเงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุโดยการนำของท่านพระครูสุจิณกัลยาณธรรม รองเจ้าคณะอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย คุณวินัย เครื่องไชย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหัวง้ม คุณพันธ์ดี พรหมเทศ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหัวง้ม คุณธีระศักดิ์ จันทร์กันธรรม ผู้ช่วยนักพัฒนาชุมชน และ คุณอัญชลี ไก่งาม รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าแดงวิทยา โดยเฉพาะคุณธีระศักดิ์ จันทร์กันธรรม หรือคุณเบิ้มผู้ช่วยนักพัฒนาชุมชน จากการพูดคุยเราก็ต้องทึ่งในความคิดของนักพัฒนาชุมชนคนนี้ เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมา เรามักจะคุยกันแต่เรื่องผู้สูงอายุ จะจัดกิจกรรมอะไรดีเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผุ้สูงวัย แต่วันนี้บทสนทนากับคุณเบิ้มเป็นเรื่องทำมาหากินในช่วงวิกฤตโควิด

ในระหว่างการสนทนาคุณเบิ้ม ก็ส่งภาพมาให้ดู โดยเริ่มจากภาพถุงอาหารสัตว์ที่วางเรียงราย เราไม่รอช้ายิงคำถามไปอย่างมากมายเพื่อต้องการที่จะรู้ว่าน้องจะสื่ออะไรตรงความเข้าใจเราไหม

“น้องเบิ้มบอกกับฉันว่า เมื่อสองปีก่อน เขาได้มีโอกาสไปนั่งฟังผู้บริหารซีพีท่านหนึ่งพูดที่หัวง้ม แต่จำชื่อไม่ได้ เขาไปนั่งฟังเพราะปลัดอบต.ให้ไปฟัง”

“เรา :ผู้บริหารท่านนั้นถามอะไรเธอ

เบิ้ม :เขาถามชื่อและอายุของผม

เรา : เธอจำชื่อได้ไหม

เบิ้ม : ไม่ได้ครับ

เรา : ไม่เป็นไร เดี๋ยวพี่ส่งภาพให้เธอดู แล้วบอกนะว่าใช่คนนนี้ไหม แล้วเราก็ส่งภาพนี้ให้น้องดู”

คุณอภัยชนม์

ตำตอบที่ได้กลับมาคือ ;ใช่ครับพี่ ท่านบอกว่าค้าขายต้องมีกำไร แล้ววันรุ่งขึ้นผมก็ทำเลย”

“เรา:เธอทำอะไร ทำที่ไหน

เบิ้ม : ผมไปกู้เงินมา 30,000.- บาท เอามาลงทุนซื้ออาหารสัตว์มาขาย

เรา: เธอขายให้ใคร ในชุมชน และแบ่งขายใช่ไหม

เบิ้ม : ใช่ครับ ผมยังเลี้ยงไก่ เลี้ยงเป็ด และไก่ชนเลื้ยงเพื่อจำหน่ายเนื้อ ตอนนี้ผมมีเป็ดบารารี่ 200 ตัว มีร้านขายอาหารสัตว์ หลังจากผมไปกู้เงินมาครั้งแรก ผมก็ไปเพิ่มวงเงินกู้มาอีก เพื่อซื้ออาหารสัตว์ทุกชนิดมาจำหน่าย

เรา : แล้วเธอมีแรงงานกี่คนที่ช่วยเธอ ในเมื่อเธอต้องมาทำงานทุกวัน เอาเวลาไหนไปดู

เบิ้ม :วันจันทร์ถึงศุกร์ผมให้พ่อกับแม่ช่วยดูแล และก่อนออกจากบ้านผมก็จะให้อาหารไก่ เป็ด และไก่ชนก่อนครับ

เรา : เธอทำมากี่ปีแล้ว คืนทุนยัง และในแต่ละเดือนมีกำไรไหม

เบิ้ม : ทำมาได้ 2 ปี ครับ ตอนนี้เดือนๆหนึ่งผมเอากำไรเป็นค่ากับข้าวให้พ่อแม่ และเก็บไว้ในธนาคารเดือนละ 10,000.- บาท ตอนนี้ยังต้องส่งอีกประมาณ 100,000 กว่าบาทครับ

เรา : เธอนี่คิดดีนะ หาอาชีพเสริม ไม่รอแค่เงินเดือน นี่เป็นการสร้างรากฐานที่มั่นคงให้กับชีวิตด้วยแรงบันดาลใจจากคำพูดที่ว่า “ค้าขายต้องมีกำไร”

เรื่องนี้อยากจะเก็บมาเล่าเพื่อบอกว่างานพัฒนาสังคม ไม่เพียงมีส่วนช่วยแก้ปัญหาพัฒนาชีวิตผู้คนที่ขาดโอกาส แต่ยังช่วยสร้าง”แรงบันดาลใจ”ให้คนหนุ่มสาวสามารถสร้างฝันของตัวเองได้ควบคู่กับการช่วยสังคม

เล่าโดย ดาเรศ สุทธิรักษ์
โครงการซีพีคืนสุขผู้สูงวัยในชนบทที่ห่างไกล